ไม่ใช่แค่โรงงานนะที่จะต้องมีจป.อัปเดตตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง 2565- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ไม่ใช่แค่โรงงานนะที่จะต้องมีจป.อัปเดตตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง 2565



สถานประกอบกิจการใดบ้าง ที่ต้องจัดให้มีจป.

หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

อัปเดตตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง 2565 เช็คได้ที่บทความนี้

จป. กฎกระทรวง 2565


จป คืออะไร จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี พ.ศ. 2549 สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่เข้าข่ายตามกฎหมายกำหนดจะต้องมีการแต่งตั้ง จป ในระดับต่างๆ หากนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมีสิทธิ์ติดคุกได้ นายจ้างที่ไม่จัดให้มีการแต่งตั้ง จป ถือได้ว่ามีความผิดตาม พรบ ความปลอดภัยฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนหรือทั้งจำทั้งปรับ


ว่าด้วยเรื่อง กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงบัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือบุคลากรหรือหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ซึ่งในกฎกระทรวงใหม่ล่าสุดได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยภัยดูแล

สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการดำเนินการเพิ่มเป็น 64 แห่ง จากเดิมมีอยู่เพียง 14 แห่งแบ่งเป็น 3 บัญชี ได้แก่


บัญชีที่ ๑

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชีที่ ๒

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
๑๐
อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
๑๑
อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
๑๒
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
๑๓
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
๑๔
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
๑๕
อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
๑๖
อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
๑๗
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
๑๘
อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
๑๙
อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะหรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
๒๐
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
๒๑
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
๒๒
อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
๒๓
อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
๒๔
อุตสาหกรรมของเล่น
๒๕
อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
๒๖
อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
๒๗
อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
๒๘
อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
๒๙
อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
๓๐
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
๓๑
สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
๓๒
คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
๓๓
การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
๓๔
อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
๓๕
อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อยหรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
๓๖
การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร
๓๗
อุตสาหกรรมการขนส่ง
๓๘
การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
๓๙
กิจการคลังสินค้า กิจการไชโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโลและห้องเย็น
๔๐
กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
๔๑
การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
๔๒
โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
๔๓
กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
๔๔
ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
๔๕
ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
๔๖
โรงพยาบาล

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
๔๗
การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพหรือวิศวกรรม
๔๘
การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
๔๙
สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชีที่ ๓

ลำดับ
สถานประกอบกิจการ
ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
โรงถ่ายทำภาพยนตร์หรือละคร
สวนพฤกษศาสตร์
สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
๑๐
สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒

สรุป  สถานประกอบกิจการที่ต้องจัดให้มีการดำเนินการ การบังคับใช้ สถานประกอบกิจการ บัญชีที่ 1, 2, 3
บัญชีที่ 1 มี 5 สถานประกอบกิจการ
บัญชีที่ 2 มี 49 สถานประกอบกิจการ
บัญชีที่ 3 มี 10 สถานประกอบกิจการ

อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยตามกฎหมายได้แล้ววันนี้ที่ www.เซฟตี้อินไทย.com

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป คอมพิวเตอร์ อบรมจปออนไลน์
อบรมจป.-คปอ.ออนไลน์ สมาชิกจ่ายเพียง 1000.- จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai